เซตและสมาชิก 
        

  ในทางคณิตศาสตร์เราใช้คำว่าเซตแทนคำที่บ่งถึงกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ โดยเราจะเรียกสิ่งที่อยู่ในเซตว่า สมาชิก สำหรับลักษณะของเซตเป็นการระบุกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เราสามารถทราบได้แน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่มและสิ่งใดไม่อยู่ ในกลุ่ม ดังนั้นการระบุของสิ่งต่าง ๆ ที่กำกวม กล่าวคือ เราไม่สามารถทราบได้แน่ว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม หรือสิ่งใด ไม่อยู่ในกลุ่ม เราจะไม่กล่าวว่ากลุ่มของสิ่งนั้นเป็นเซต

เอกภพสัมพัทธ์
          คือ เซตที่กำหนดขึ้นโดยมีข้อตกลงว่า จะไม่กล่าวถึงสิ่งใดนอกเหนือไปจากสมาชิกของเซตที่กำหนดขึ้นนี้ นิยมใช้สัญลักษณ์ กล่าวอย่างง่าย ๆ คือเป็นตัวกำหนดขอบเขตของสมาชิกที่เราสนใจนั่นเองการระบุสัญลักษณ์แทนเซต เราสามารถเขียนเซตโดยระบุสัญลักษณ์ได้ 2 แบบ คือ
          
1.  แบบแจกแจงสมาชิก

          2.  แบบบอกเงื่อนไขสมาชิกในเซต

 โดยเราจะใช้สัญลักษณ์ “” และ “” แทนคำว่า เป็นสมาชิกของและไม่เป็นสมาชิกของได้

 

ลักษณะของเซต
          
เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถบอกได้แน่นอนว่ามีจำนวนสมาชิกเท่าใด
          
เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด กล่าวคือเราไม่สามารถบอกได้แน่นอนว่ามีจำนวนสมาชิกเท่าใด
          
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก ใช้สัญลักษณ์ หรือ { } แทน โดยมีข้อสังเกตว่าเซตว่างเป็นเซตจำกัด เพราะมีจำนวนสมาชิกเป็นศูนย์ ซึ่งสามารถนับได้นั่นเอง

ความสัมพันธ์ระหว่างเซต
          1.  การเท่ากันของเซต เซต A จะเท่ากับเซต B ก็ต่อเมื่อมีจำนวนสมาชิกเท่ากันและเหมือนกัน เราใช้ สัญลักษณ์ A = B แทนความหมายว่าเซต A เท่ากับเซต B”
          
2.  สับเซต
(Subset) เซต A จะเป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อสมาชิกทุกตัวที่เป็นสมาชิกของ A ต่างก็เป็น สมาชิกของ B เราใช้สัญลักษณ์ A  B แทนความหมาย เป็นสับเซตของโดยที่การเป็นสับเซตของเซตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
          1)  กรณีที่ A  B แต่ A  B เรียกว่าเป็นสับเซตแท้ของ B
          2)  กรณีที่ A  B แต่ A = B เรียกว่าเป็นสับเซตไม่แท้ของ B

คุณสมบัติที่น่าสนใจของสับเซต
          - เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต นั่นคือ  A เมื่อ A เป็นเซตใด ๆ
          - ทุก ๆ เซตเป็นสับเซตของเอกภพสัมพัทธ์ นั่นคือ A  เมื่อ A เป็นเซตใด ๆ               
          - จำนวนสับเซตทั้งหมดที่เป็นไปได้ของเซต A มีค่าเท่ากับ 2n(A-B) และจำนวนสับเซตแทนมีค่าเท่ากับ 2n(A)- 1

ทฤษฎีบท ให้ A, B เป็นเซตจำกัด
          -  ถ้า B  X และ X  A แล้ว จำนวนเซต X เท่ากับ 2n(A-B) เซต
          -  ถ้า B  A และ X  A และ B  X  แล้ว จำนวนเซต X เท่ากับ 2n(A) - 2n(A-B) เซต

สับเซต (Subset) และเพาเวอร์เซต (Power Set) ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ จะได้ว่า
          1.  เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อทุกสมาชิกของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วย “A  B”
          2.  เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกอย่างน้อย 1 ตัว ของเซต A ที่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “A  B”
          3.  เซต A เป็นสับเซตแท้ (Proper Subset) ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A เป็นสับเซตของ B แต่ A B และใช้สัญลักษณ์ “” แทนทั้งสับเซตแท้และสับเซตไม่แท้
          4.  เพาเวอร์เซต (Power Set) ของเซต A คือ เซตของสับเซตทั้งหมดของเซต A เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “P(A)” ดังนั้น P(A) = {xlx A}

สมบัติของสับเซต
          1.  ถ้า A เป็นเซตใด ๆ แล้ว A  A [เซตทุกเซตเป็นสับเซตของตัวเอง]
          2.  ถ้า A เป็นเซตใด ๆ แล้ว  A [เซตว่างเป็นสับเซตของทุกเซต]
          3.  ถ้า A  B และ B  C แล้ว A  C
          4.  ถ้า A เป็นเซตจำกัดใด ๆ ที่มีสมาชิก n ตัว แล้ว สรุปได้ว่า
                     4.1  จำนวนสับเซตทั้งหมดของเซต A = 2n เซต
                     4.2  จำนวนสับเซตแท้ทั้งหมดของเซต A = 2n-1 เซต
                     4.3  จำนวนสับเซตที่มีสมาชิกอย่างน้อย 1 ตัว = 2n-1 เซต
                     4.4  จำนวนสับเซตที่มีสมาชิกอย่างน้อย 2 ตัว = 2n-n-1
                     4.5  จำนวนสับเซตที่มีสมาชิกเพียง 2 ตัว =  เซต
                     4.6  จำนวนสับเซตที่มีสมาชิกเพียง r ตัว =  เซต

สมบัติของเพาเวอร์เซต ให้ A เป็นเซตใด ๆ เพาเวอร์เซตของเซต A เขียนแทนด้วย P(A) และมีสมบัติดังนี้
          1.  P(A)  สำหรับทุก ๆ เซต A [P(A) จะต้องมีสมาชิกอย่างน้อย 1 ตัว เสมอ]     
          2.   P(A) และ  P(A) สำหรับทุก ๆ เซต A
          3.  A  P(A) เสมอ
          4.  nP(A) = 2n, ถ้า A เป็นเซตใด ๆ ที่มีสมาชิก n ตัว จำนวนสมาชิกของ P(A) = 2n เซต
          5.  ถ้า A  B แล้ว P(A)  P(B)
          6.  P(A) P(B) = P(A B)
          7.  P(A) P(B) P(A B)
           8.  ถ้า A เป็นเซตอนันต์แล้ว P(A) เป็นเซตอนันต์

ยูเนียนเนียน อินเตอร์เซกชันและคอมพลีเมนต์ของเซต

 

การดำเนินการบนเซต (Operation on set) ให้ A และ B เป็นเซตใด ๆ และ  เป็นเอกภพสัมพัทธ์ ซึ่งกำหนดดังแผนภาพต่อไปนี้

                    1.  ยูเนียน (Union)
          ยูเนียนของเซต A และเซต B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกของเซต A หรือของเซต B หรือของทั้งสองเซต เขียนแทน
ด้วยสัญลักษณ์ “A
 U B

           2.  อินเตอร์เซกชัน (Intersection)
          อินเตอร์เซกชันของ A และ B คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกซึ่งเป็นสมาชิกของทั้งเซต A และเซต B

                  3.  ผลต่าง (Difference)
          ผลต่างระหว่างเซต A และเซต B หรือคอมพลีเมนต์ของ B เมื่อเทียบกับ A คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิก ซึ่งเป็นสมาชิกของเซต A
แต่ไม่เป็นสมาชิกของเซต B เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ “A - B”
 

4.  คอมพลีเมนต์ (Complement)
          คอมพลีเมนต์ของเซต A เมื่อเทียบกับ เขียนแทนด้วย
A’ หรือ -A หมายถึง เซตที่ประกอบด้วย สมาชิก ซึ่งเป็นสมาชิกของ  แต่ไม่เป็น
สมาชิกของ

 

This free website was made using Yola.

No HTML skills required. Build your website in minutes.

Go to www.yola.com and sign up today!

Make a free website with Yola